เทศบาลตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : www.talad.go.th

 
 
 


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคติดต่อ


โรคติดต่อ คือ โรคที่สามารถถ่ายทอดติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆเป็นสาเหตุของโรค  ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง วัณโรค ไข้เลือดออก  โรคพิษสุนัขบ้า  ไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙  เป็นต้น แม้ว่าเชื้อโรคจะเป็นตัวก่อเหตุแต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญแต่ละชีวิตมนุษย์ เป็นหน่วยหนึ่งของธรรมชาติ ก่อเกิดโดยธรรมชาติ แตกดับเป็นธรรมชาติ ดังนั้นการดำรงชีวิตขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่  จึงควรสอดคล้องกับวิถีของธรรมชาติ การดูแลสุขภาพ  หมายถึงการส่งเสริมป้องกันและรักษาร่างกายและจิตใจให้เป็นปกติสุข  ควรยึดหลักการของธรรมชาติเป็นสำคัญดังนั้นจะเห็นว่าประเทศไทยมีโรคติดต่ออยู่หลายชนิด ในปัจจุบันโรคติดต่อที่เป็นอันตรายร้ายแรง  บางชนิดได้ถูกควบคุมและกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว เช่น  ไม่มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคอีกเลย นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๕ และไข้ทรพิษก็ไม่พบอีกเลยในประเทศไทยหลังจาก พ.ศ.๒๕๐๔ (ไข้ทรพิษถูกกำจัดให้หมดไปจากทุกประเทศในโลกตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๑) โรคติดต่อบางชนิดแม้ว่าคงมีอยู่บ้าง ก็ได้ลดความรุนแรงลงไป เช่น  อหิวาตกโรค อย่างไรก็ตามโรคติดต่อหลายชนิดยังคงปรากฏอยู่รวมทั้งโรคติดต่อบางชนิดที่พบใหม่  และภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้มีประกาศรัฐมนตรีเรื่อง โรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ เรียงตามลำดับดังนี้  ๑.โรคติดต่ออันตราย  มีอยู่ ๔ โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง และกาฬโรค
๒. โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ มีอยู่ ๔๔ โรค คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง ไข้กาฬหลังแอ่น คอตีบ ไอกรน โรคบาดทะยัก โปลิโอ ไข้หัด ไข้หัดเยอรมัน โรคคางทูม ไข้อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไข้เลือดออก โรคพิษสุนัขบ้า โรคตับอักเสบ โรคตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ โรคบิดบะซิลลารี (bacillary dysentery) โรคบิดอะมีบา (amoebic dysentery) ไข้รากสาดน้อย ไข้รากสาดเทียม ไข้รากสาดใหญ่ สครับไทฟัส (scrub typhus) มูรีนไทฟัส (murine typhus) วัณโรค โรคเรื้อน ไข้จับสั่น แอนแทร็กซ์ (antrax) โรคทริคิโนซิส (trichinosis) โรคคุดทะราด โรคเล็พโทสไปโรซิส ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ โรคไข้กลับซ้ำ โรคอุจจาระร่วง โรคแผลเรื้อรัง และโรคเท้าช้าง  และล่าสุดในปี  ๒๕๕๗  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ๔ ฉบับ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมีสาระต่อเนื่องกัน ได้แก่ ประกาศกระทรวงฯ ให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นโรคติดต่อ  โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ฉะนั้นโดยทั่วไปแล้ว โรคติดต่อและโรคเขตร้อนยังคงเป็นปัญหาต่อการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศอยู่ต่อไป





2024-04-22
2024-04-17
2024-04-11
2024-03-23
2024-03-23
2024-03-20
2024-03-15
2024-03-15
2024-03-12
2024-03-06